อะไหล่ Brusta คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ

อะไหล่-Brusta-คืออะไร-ทำไมถึงสำคัญ

ไม่ว่าจะเป็นสินค้าชนิดใด ลูกค้า ผู้ที่สนใจมักจะชื่นชอบการอ่านการใช้งานสินค้าถึงคุณสมบัติ เปรียบเทียบถึงข้อดีข้อเสีย ความแตกต่างเพื่อพิจารณาก่อนเลือกซื้อ การรีวิวเครื่องปั้มนม brusta อุปกรณ์สำหรับแม่และเด็กยอดฮิตที่ได้รับความนิยม มาดูกันสิว่ามีข้อดี – ข้อเสียที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานอย่างไร ทำไมถึงได้รับความนิยม พร้อมข้อมูลการให้นมบุตรที่คุณแม่ควรรู้เพื่อเตรียมตัวหลังคลอดบุตร

นมแม่ดีกว่านมผงอย่างไร

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนมแม่และนมผงองค์ประกอบที่มีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็กอันไหนดีกว่ากัน

  • นมแม่ถูกสร้างขึ้นแบบธรรมชาติทำให้สะอาด ปลอดภัย ไร้สารเจือจนซึ่งต่างกับนมผงที่ถูกผลิตขึ้นตามกระบวนการทำงานของเครื่องจักร หากไม่มีคุณภาพอาจเกิดสารเจือปนและปนเปื้อนระหว่างการผลิต หรือบรรจุภัณฑ์ได้
  • นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของเด็ดที่เหมาะสมและยังประกอบด้วยฮอร์โมนจำเป็นที่สำคัญ หรือสารอาหารอื่น ๆ ที่ไม่มีในนมผง
  • เมื่อเด็กได้รับนมแม่สามารถเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคต่าง ๆ ได้ทันที ในขณะที่นมผงบางชนิดไม่มีสารอาหารที่เสริมภูมิคุ้มกันทำให้เด็กเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • การดื่มนมจากเต้าจะช่วยกระตุ้นฮอร์โมนความรักระหว่างแม่แและเด็กขณะให้นมทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย
  • นมแม่มีส่งปลต่อสภาวะท้องร่วง ท้องเสีย หรือมีอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารน้อยกว่านมผง

ดังนั้น ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอดควรให้เด็กได้ดื่มนมแม่อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน เสริมสร้างสุขภาพ พัฒนาการทางสมอง กระตุ้นการเจริญเติบโตได้ดีสมวัยและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลังคลอด หรือเมื่อโตขึ้น หากแม่ที่ต้องออกไปทำงานไม่สามารถให้นมได้ตามเวลาอย่างน้อยวันละ 8 ครั้งควรมีการปั้มนมเก็บสำรองเพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่เพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน

รีวิวเครื่องปั๊มนม Brusta

คุณแม่หลายท่านมักจะอ่านการใช้งานของสินค้าจาก Brusta ถือเป็นเครื่องยี่ห้อหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานโดยติดอันดับ 1 หมวดสินค้าแม่และเด็กซึ่งมีจุดเด่น ดังนี้

  • มีทั้งประเภทเครื่องปั๊มนมแบบปั้มเดี่ยว ปั้มคู่และปั้มแบบไฟฟ้า
  • มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่มีให้เลือกถึง 9 โหมดกระตุ้น พร้อม 2 พิเศษแก้ปัญหาเรื่องน้ำนม ได้แก่ โหมดการดึงน้ำนมหลังปั้มทำให้ปั้มนมได้เกลี้ยงเต้ามากขึ้นและโหมดแก้น้ำนมติดค้างเป็นไตซึ่งช่วยสลายก้อนนมได้ดี
  • แบตเตอรี่ทนนานซึ่งจากผู้ใช้จริงสามารถบอกว่าการชาร์จ 1 ครั้งสามารถใช้ปั้มได้มากถึง 8 – 9 รอบต่อวัน
  • มีมาตรฐานและได้รับรองทั้งจากสากลและภายในประเทศ ได้แก่ EN60601:2006 CE RoHs ISO , BPA Free และมาตรฐานอย. ซึ่งรับประกันตัวเครื่องนานถึง 2 ปี
  • พกพาสะดวกด้วยน้ำหนักที่เบาประมาณ 0.5 กิโลกรัม ทำให้พกพาไปได้สะดวกและจัดเก็บง่าย
  • เสียงเงียบมากทำให้ไม่ต้องกังวลใจเมื่อต้องปั้มนมนอกบ้าน
  • ดูแลง่าย โดยตลอดระยะเวลา 1 ปีแทบไม่ต้องส่งซ่อมบำรุง

เคล็ดลับการปั้มนมด้วยเครื่อง

เริ่มกันที่คุณแม่จะล้างทำความสะอาดมือด้วยน้ำเปล่า หรือสบู่อ่อน ๆ จากนั้นให้หยิบขวดนม และตัวเครื่องที่สะอาด พร้อมหยิบกรวยโดยวางไว้กรวยให้อยู่ตรงกลางเต้า จากนั้นให้ประคองเต้านมด้วยมือข้างเดียวโดยให้นิ้วโป้งอยู่ด้านบน ส่วนนิ้วที่เหลือให้อยู่ใต้นม เริ่มบีบน้ำนม สังเกตการปรับความเร็วและอัตราการปั้มตามคู่มือซึ่งครเริ่มที่ความเร็วต่ำ ๆ แล้วค่อยไล่ระดับความเร็วเพิ่มขึ้น โดยการปั้มนมควรใช้เวลาต่อเต้าประมาณ 10 – 15 นาที เมื่อครบเวลาให้นำกรวยออกพร้อมนำนมใส่ขวดและภาชนะที่ปิดสนิทก่อนนำไปแช่เย็นและควรนำอุปกรณ์เครื่อง ถอดอะไหล่ที่ปั้มนมไปล้างทำความสะอาดทันที หรือหากต้องไปทำกิจกรรมอื่น ๆ แนะนำให้แช่ในน้ำยา ห้ามวางทิ้งไว้เนื่องจากคราบนมสามารถช่วยให้เชื้อราและแบคทีเรียต่าง ๆ เจริญเติบโตได้ดี

ข้อควรระวังขณะปั้มนม: หากคุณแม่ใช้ขนาดกรวยผิดขนาดกับเต้านมจะทำให้รู้สึกเจ็บขณะปั้ม หรือในบางครั้งอาจมีการตั้งอัตราการปั้มที่สูงเกินไปทำให้สามารถเกิดการบาดเจ็บบริเวณเต้านมได้จึงควรอ่านคู่มือและคำแนะนำต่าง ๆ ก่อนใช้ รวมถึงลองนำกรวยมาวางทาบบเข้ากับเต้านมให้แนบชิดเพราะจะทำให้ทราบว่าเต้านมกับขนาดกรวยสัมพันธ์กันหรือไม่ ก่อนนำไปใช้งานจริงซึ่งช่วยลดอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้

8 กลุ่มเสี่ยงที่ห้ามให้นมลูกโดยเด็ดขาด

นอกจากการอ่านรีวิวเครื่องปั๊มนม Brusta เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพและความเหมาะสมต่อการใช้งานแล้ว ตัวคุณแม่ก็ควรตรวจสอบร่างกาย หรือกลุ่มโรคว่าจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ห้ามให้นมบุตรหรือไม่ซึ่งมีทั้ง 8 โรคด้วยกัน ดังนี้

  1. การติดเชื้อไวรัส HTLV-1 ซึ่งอาจเป็นสาเหตุสำคัญในการก่อโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งมะเลือดขาว หรือลิวคีเมียได้
  2. เริม หรืออาการติดเชื้อไวรัส Herpes simplex โดยหากมีตุ่มใส ๆ เกิดขึ้นบริเวณเต้านม หรือรอบ ๆ ห้ามให้นม แต่หากเกิดขึ้นส่วนอื่น ๆ ของร่างกายสามารถให้นมได้ตามปกติ
  3. วัณโรค ในกลุ่มที่กำลังรักษา หรือยังคงมีอาการห้ามให้นมบุตร แต่ในกลุ่มที่รักษาหายเป็นปกติสามารถให้นมบุตรได้ตามปกติ
  4. ไวรัสตับอักเสบ A จะไม่สามารถให้นมบุตรได้จนกว่าจะรักษาหายเป็นปกติ
  5. โรค SLE เนื่องจากเป็นกลุ่มโรคที่ต้องได้รับการรักษาทางเคมีบำบัดซึ่งสามารถส่งผลต่อสุขภาพของลูกน้อยได้จึงต้องมีการปรับใช้ยาที่มีความปลอดภัย
  6. โรคเอดส์ หรือกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อไวรัส HIV เนื่องจากอาจมีโรคเรื้อรังอยู่ในร่างกายที่อาจส่งผ่านไปทางน้ำนมสู่ลูกน้อย
  7. โรคติดเชื้อไวรัส Cytomegalovirus CMV ซึ่งหากมีการตรวจวินิจฉัยพบเชื้อตัวนี้ภายในตัวแม่ห้ามให้นมบุตรเนื่องจากส่งผลต่อความผิดปกติต่อร่างกาย
  8. อีสุกอีใส หากอยู่ระหว่างมีอาการ หรือได้รับการรักษาคุณแม่จะไม่สามารถให้นมบุตรได้

นอกจาก 8 โรคที่กล่าวไปยังรวมถึงกลุ่มคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการได้รับสารเคมีบำบัด สารกัมมันตรังสี รังสีไอโอดีน 131 สารนิโคติน หรือโคเคนห้ามให้นมบุตรและควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮล์ช่วงขณะให้นมบุตร

นมแม่ อาหารชั้นเลิศแก่ลูกน้อยที่ควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงต่อความต้องการอย่างน้อย 6 เดือน พร้อมตัวช่วยเอาใจคุณแม่ผ่านรีวิวเครื่องปั้มนม brusta ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานที่มาพร้อมเคล็ดลับการปั้มนมและ 8 โรคต้องห้ามที่ไม่ควรให้น้ำนมลูกเพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัยแก่ลูกน้อยที่คุณรักให้เติบโตอย่างแข็งและสมบูรณ์